ยันต์มหามงคลจักรวาล
ศาสตร์และศิลปะของภาพยันต์มหามงคลจักรวาล
ศิลปะเชิงปรัชญาทางพุทธมหายาน
พระพุทธศาสนาทางมหายาน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางปรัชญาออกมาเป็นศิลปะ สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้สรรพสัตว์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็น สัมผัสได้ง่าย และสถานที่สำคัญที่รับพุทธมหายานจากอินเดีย และสามารถผสมผสานกลมกลืนเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีอยู่เดิมอย่างกลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั้นก็คือ ทิเบต
ทิเบต ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนานิกายวัชรยาน โดยวัชรยานได้เริ่มเผยแผ่เข้ามายังทิเบตในสมัยของพระเจ้าลาโธ โธรี เย็นเซ เมื่อปี 976 (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ทิเบต) โดยได้รับคัมภีร์และพระพุทธรูปเข้ามา นับเป็นครั้งแรกที่ชาวทิเบตได้รู้จักกับศาสนาพุทธ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องด้วยชาวทิเบตส่วนใหญ่เลื่อมใสในลัทธิบอน ซึ่งเน้นความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ
จวบจนกระทั่งในปี ค.ศ.1173 ภายใต้การนำของซงจั้นกันปู้ กษัตริย์ผู้ยืงยงแห่งทิเบต (ยุคแรกของประวัติศาสตร์ทิเบต) ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่รับมา และประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จากการสนับสนุนของพระมเหสี 2 พระองค์ ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยองค์หนึ่ง คือ องค์หญิงเหวินเฉิง จากราชสำนักถังของจีน และอีกองค์คือ เจ้าหญิงภริคุติเทวี พระธิดาในพระเจ้าอัมสุวารมา แห่งเนปาล และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคต่อๆ มา
พุทธศิลป์ของทิเบตใครเคยชม จะเห็นว่ามักมีรูปสัญลักษณ์อันเป็นสิริมงคลยิ่ง 8 อย่าง หรือที่เรียกว่า “อัษฏมงคล” (อัษฏ แปลว่า 8) ปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ทั้งตามวัดวาอาราม บ้านเรือน และปราสาทราชวัง โดยชาวทิเบตเชื่อว่า สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 8 นี้ เป็นตัวแทนของพระวรกายของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ “สังข์” เป็นตัวแทนของพระวจนะ, “ดอกบัว” คือ พระชิวหา (ลิ้น), “ธรรมจักร” คือ พระบาท, “ฉัตร” คือ พระเศียร, “เงื่อนอนันตภาคย์” คือ พุทธสติ, “ปลาทองคู่” คือ พระเนตรทั้งสองข้าง, “ธงแห่งชัยชนะ” คือ พระวรกาย และ “แจกันแห่งโภคทรัพย์” คือ พระศอ (คอ)
ศิลปะเชิงปรัชญาทางพุทธมหายาน
คำว่า ‘มันดาลา’ มาจากภาษาสันสกฤต ‘มันดา (manda)’ แปลเป็นภาษาทิเบต ตรงกับคำว่า ‘dkyil’ ซึ่งหมายถึง ‘แก่นศูนย์กลาง หรือที่นั่ง’ โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า ‘โพธิ’ หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่า‘ลา (la)’ หมายถึง ‘วงล้อที่หลอมรวมแก่น’ ดังนั้น ‘มันดาลา’ จึงแปลว่า ‘ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง’ และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์(ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน) สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่า ‘มณฑล’ นั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน ซึ่งภาพมันดาลา คือภาพ มณฑล หรือผังจักรวาลนั่นเอง
ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการ ตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือน กับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรม ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ ที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อม
โดยทั่วไป มันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้น จะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย
1. กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์
2. กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ
3. กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้
4. กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ
นอกจากนี้ ชาวทิเบตเองยังมีความเชื่อว่า มันดาลาสร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ เนื่องจากในขณะที่สร้าง พระสงฆ์ได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลา ซึ่งจะ เป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมมันดาลา อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองปกป้องสถานที่ซึ่งมันดาลานั้นตั้งอยู่อีกด้วย
ปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์เรื่องมันดาลามาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางจิต โดยให้ผู้ รับการบำบัดวาดภาพมันดาลา ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอารมณ์และจิตใต้สำนึกของตัวตน ภายใน ทำให้นักจิตแพทย์สามารถเข้าใจถึงปมปัญหาของคนไข้ได้มากขึ้น มันดาลาในยุค ปัจจุบันจึงมีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคลจะสร้างออกมา
อย่างไรก็ดี ภาพมันดาลาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง บางท่านอาจสนใจเพียงความสวยงาม และความสงบสุขเมื่อได้พบเห็น แต่แท้จริงแล้วมันดาลา เป็นสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดสิ่งที่เป็น นามธรรมของพระพุทธศาสนาออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ความหมายที่แท้จริงซึ่งแฝง คำสอนในมันดาลาไม่ควรจะถูกมองข้ามไป และผู้ที่จะนำมันดาลาไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ ควรมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางพุทธศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่องสุญญตา และหลักธรรมต่างๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน และควรตระหนักอยู่เสมอถึงสาระของมันดาลา และประโยชน์ที่ได้รับต่อการปฏิบัติและการฝึกจิตในการพิจารณา
และด้วยศาสตร์พลังแห่งมันดาลา ที่รวมทั้งสัญลักษณ์มงคลทั้ง 8 ประการ รวมกับ พลังแห่งฮวงจุ้ย ซึ่งเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่ง วงกลม นั้นคือ ธาตุทอง เป็นธาตุแห่งการดึงดูด เข้าสู่ศูนย์กลาง นี้เอง ทำให้ มันดาลานี้ มีพลังธรรมชาติแห่งจักรวาลในตัว ผนวกกับ ศาสตร์แห่ง วิทยาการทางจิต กำกับด้วย พระคาถาซึ่งมีความเป็นมงคล คือ พระคาถาศักสิทธิ์
- มงกุฎพระพุทธเจ้า ส่งผลคลอบคลุม ทุกประการแห่งความเป็นมงคล
- คาถาบารมี 30 ทัศน์ ส่งผลให้บารมีแผ่ไพศาล
- คาถาพระฉิมพลีโภคทรัพย์ ส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
กำกับด้วยยันต์ นะ ฤาชา ส่งผลให้เกิด ชื่อเสียง ความสำเร็จ
อธิษฐานจิตกำกับ โดย อ.ธัชกร ธีรปัญญานนท์
ทำให้ยันต์มหามงคลจักรวาลนี้ อำนวยอวยผล แก่ผู้ได้ทำการบูชาไว้ติดบ้าน หรือกิจการร้านค้า สามารถเกิดพลังแห่งมงคลทั้งหลาย แก้ไข ฮวงจุ้ย ให้บ้านเรือน กิจการบังเกิดเกิด ชื่อเสียง สุขสมบูรณ์ เมตตา วาสนา บารมี ร่ำรวยมั่งคั่ง ดั่งใจปรารถนา
อ.ธัชกร ธีรปัญญานนท์